คณะกรรมการบริษัทมีความเชื่อมั่นว่าการกำากับดูแลกิจการที่ดีเป็นปัจจัยสำาคัญเป็นอย่างยิ่งต่อบริษัทในการเพิ่มมูลค่า เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัทและนำาไปสู่ความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว โดยหลักการกำากับดูแลกิจการที่ดีจะแสดงให้เห็นถึงการมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

บริษัทให้ความสำาคัญกับการกำากับดูแลกิจการที่ดี ด้วยเชื่อมั่นว่าการดำาเนินกิจกรรมอย่างมีจริยธรรมโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ จะส่งผลให้บริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายของการเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน บริษัทจึงได้กำาหนดให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกคนปฏิบัติตามหลักการกำากับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งได้เปิดเผยหลักการกำากับดูแลกิจการที่ดีผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท www.kbs.co.th

หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ประกอบด้วย 5 หมวด ดังนี้

  1. 1. สิทธิของผู้ถือหุ้น

    คณะกรรมการบริษัทตระหนักและให้ความสำคัญถึงสิทธิของผู้ถือหุ้น และได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท โดยคำนึงปัจจัยต่างๆ ซึ่งรวมถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้น โดยมีแนวนโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

    1.1 การเปิดสารสนเทศเกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้น

    บริษัทมีนโยบายให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัน เวลา สถานที่ และวาระการประชุมผู้ถือหุ้น ตลอดจนข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวข้อง กับเรื่องที่ต้องตัดสินใจในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แก่ผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้าอย่างเพียงพอและทันเวลา อย่างน้อยตามที่กฎหมายกำหนด โดยบริษัทแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประชุมผู้ถือหุ้น ขั้นตอนการออกเสียงลงมติ รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลดัง กล่าวไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทเป็นการล่วงหน้าก่อนที่จะจัดส่งเอกสาร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้มีเวลาศึกษาข้อมูลประกอบการ ประชุมล่วงหน้าอย่างเพียงพอก่อนได้รับข้อมูลในรูปแบบเอกสารจากบริษัท

    บริษัทมีนโยบายละเว้นไม่กระทำใดๆ ที่เป็นการจำกัดโอกาสของผู้ถือหุ้นในการศึกษาสารสนเทศของบริษัทเกี่ยว กับการประชุมผู้ถือหุ้น

    บริษัทมีหน่วยงานลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) เป็นตัวแทนในการสื่อสาร บริการข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม ต่างๆ ของบริษัทกับสถาบัน ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์ และประชาชนทั่วไป โดยสามารถดูข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ www.kbs.co.th ภายใต้หัวข้อ นักลงทุนสัมพันธ์

    1.2 การดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้น

    บริษัทมีนโยบายอำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิในการเข้าร่วมประชุมและออกเสียงอย่างเต็มที่ในการ ประชุมผู้ถือหุ้นและไม่กระทำใดๆ ที่เป็นการจำกัดโอกาสการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น เช่น การเข้าประชุมเพื่อออกเสียงลงมติไม่ควรมีวิธี การที่ยุ่งยากหรือมีค่าใช้จ่ายมากเกินไป

    บริษัทมีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นมีโอกาสในการแสดงความเห็นและตั้งคำถามต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ วาระที่ประชุม โดยให้ประธานที่ประชุมจัดสรรเวลาให้เหมาะสม ทั้งนี้ บริษัทเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคำถามล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับ วาระในการประชุมผู้ถือหุ้นก่อนวันประชุม ตามที่คณะกรรมการบริษัทเห็นสมควร

    บริษัท มีนโยบายส่งเสริมให้กรรมการทุกคนเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น

  2. 2. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน

    คณะกรรมการบริษัทตระหนักและให้ความสำคัญถึงหลักการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ อันเนื่องมาจากความแตกต่างในฐานะอื่นนอกเหนือจากฐานะผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายย่อย นักลงทุนสถาบัน ผู้ถือหุ้น ต่างชาติ รวมทั้งผู้ถือหุ้นทั้งที่เป็นกรรมการและผู้บริหาร จะได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันและเป็นธรรม

    คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท โดยคำนึงปัจจัยต่างๆ ซึ่งรวมถึงหลักการปฏิบัติต่อ ผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน โดยมีแนวนโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

    2.1 การเสนอวาระเพิ่มเติมในการประชุมผู้ถือหุ้น

    บริษัทมีนโยบายอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ในการเสนอเพิ่มวาระการประชุมล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ การเสนอเพิ่มวาระการประชุมล่วงหน้าและการพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวของผู้ถือหุ้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด

    ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่เป็นผู้บริหารจะไม่เพิ่มวาระการประชุมที่ไม่ได้แจ้งเป็นการล่วงหน้าโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะวาระสำคัญที่ผู้ถือหุ้นต้องใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ

    2.2 การเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการ

    บริษัทมีนโยบายอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในการเสนอชื่อบุคคล เพื่อเข้าดํารงตําแหน่งกรรมการ ทั้งนี้ การเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้าดํารงตําแหน่งกรรมการและการพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวของผู้ถือหุ้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกําหนด

    2.3 การมอบฉันทะในกรณีที่ไม่สามารถมาประชุมผู้ถือหุ้นได้ด้วยตนเอง

    บริษัทมีนโยบายสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นใช้หนังสือมอบฉันทะรูปแบบที่ผู้ถือหุ้นสามารถกําหนดทิศทางการลงคะแนนเสียงได้ และควรเสนอชื่อกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 คน เป็นทางเลือกในการมอบฉันทะของผู้ถือหุ้น โดยบริษัทได้ดําเนินการจัดส่งหนังสือมอบฉันทะรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ถือหุ้น พร้อมกับหนังสือเชิญประชุม

    2.4 การใช้บัตรลงคะแนนเสียงในวาระที่สำคัญ

    บริษัทมีนโยบายสนับสนุนให้มีการใช้บัตรลงคะแนนเสียงในวาระที่สําคัญ เช่น การทํารายการเกี่ยวโยงกันการทํารายการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่มีนัยสําคัญ เป็นต้น เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ในกรณีมีข้อโต้แย้งในภายหลัง

    2.5 การแต่งตั้งกรรมการเป็นรายบุคคล

    บริษัทมีนโยบายสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิในการแต่งตั้งกรรมการเป็นรายบุคคล

    2.6 แนวทางในการเก็บรักษาและป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน

    แนวทางในการเก็บรักษาและป้องกันการใช้ข้อมูลภายในบริษัทมีแนวทางในการเก็บรักษาและป้องกันการใช้ข้อมูลภายในเป็นลายลักษณ์อักษร และแจ้งแนวทางดังกล่าวให้ทุกคนในองค์กรถือปฏิบัติ และกําหนดให้กรรมการทุกคนและผู้บริหารที่มีหน้าที่รายงานการมีส่วนได้เสียตามที่กฎหมายกําหนดให้บริษัททราบ

    การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563

    บริษัทให้ความสําคัญต่อสิทธิของผู้ถือหุ้นและการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันโดยนําหลักการที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรมในการจัดประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้ง ตั้งแต่ก่อนการประชุม วันประชุม และหลังการประชุม สําหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2563 จัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม 2563 เวลา 14.00 น. โดยวิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) ณ ห้องประชุม ชั้น 5 บริษัท น้ําตาลครบุรี จํากัด (มหาชน) เลขที่ 5 ซอยสุขุมวิท 57 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร มีผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง จํานวน 9 ราย และผู้รับมอบฉันทะจํานวน 20 ราย รวมเป็นผู้ถือหุ้นทั้งที่มาด้วยตนเองและรับมอบฉันทะเข้าร่วมประชุม คิดเป็นร้อยละ 71.0032 ของจํานวนหุ้นทั้งหมด 600,000,000 หุ้น มีกรรมการ บริษัทเข้าร่วมประชุม 8 คน จากกรรมการทั้งหมด 9 คน คิดเป็นร้อยละ 88.89 โดยประธานกรรมการบริษัท ประธานกรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการสรรหาและกําหนดค่าตอบแทน ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง ประธานกรรมการบริหารกรรมการผู้จัดการ ผู้อํานวยการการเงิน เลขานุการบริษัท ผู้สอบบัญชี และที่ปรึกษากฎหมายเข้าร่วมประชุมอย่างครบถ้วนพร้อมเพรียงกัน ทั้งนี้ รายละเอียดการดําเนินการประชุมมีดังนี้

    ก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น

    • ให้สิทธิผู้ถือหุ้นรายย่อยสามารถเสนอวาระการประชุมผู้ถือหุ้น และจัดให้มีกระบวนการและช่องทางให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยมีส่วนในการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการระหว่างวันที่ 18 กันยายน 2562 ถึง 20 ธันวาคม 2562 โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาเกี่ยวกับการเสนอวาระการประชุมผู้ถือหุ้นและเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ของบริษัท ทั้งนี้ การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2563 ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดเสนอวาระการประชุมผู้ถือหุ้น หรือเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการ
    • จัดทําหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2563 บริษัทได้เผยแพร่หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นบนเว็บไซต์ของบริษัท และจัดส่งจดหมายเชิญประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าก่อนวันประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับเอกสารล่วงหน้าก่อนวันประชุมและมีเวลาศึกษาข้อมูลก่อนวันประชุมอย่างเพียงพอ
    • ในหนังสือเชิญประชุม บริษัทมีการชี้แจงวัตถุประสงค์และเหตุผลและความเห็นของคณะกรรมการบริษัท เพื่อประกอบการพิจารณาของผู้ถือหุ้นอย่างครบถ้วนและเพียงพอ โดยวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประกอบด้วย
      1. วาระการแต่งตั้งกรรมการ ได้ให้ข้อมูลของผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้ง ได้แก่ ชื่อ อายุ ประเภทกรรมการ ตําแหน่งในบริษัท การศึกษา การอบรม/สัมมนาหลักสูตรกรรมการ ประสบการณ์ การดํารงตําแหน่งในกิจการอื่นและกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของบริษัท วันที่ดํารงตําแหน่งกรรมการ จํานวนปีที่ดํารงตําแหน่ง และการเข้าร่วมประชุมในฐานะกรรมการชุดต่างๆ การถือหุ้นในบริษัท และข้อมูลอื่นๆ เช่น การทํารายการที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทในรอบปีที่ผ่านมา
      2. วาระการพิจารณาค่าตอบแทน มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย จํานวนเงินค่าตอบแทน และรูปแบบค่าตอบแทนแยกตามตําแหน่ง หลักเกณฑ์ และวิธีการพิจารณาค่าตอบแทน
      3. วาระการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อผู้สอบบัญชีและสํานักงานสอบบัญชี ความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชี จํานวนปีที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท การพิจารณาความเหมาะสมของค่าสอบบัญชี
      4. วาระการจ่ายเงินปันผล ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการจ่ายเงินปันผล จํานวนเงินที่ขออนุมัติเปรียบเทียบจํานวนเงินที่จ่ายในปีก่อน
    • ไม่มีการแจกเอกสารที่มีข้อมูลสําคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างกะทันหัน รวมทั้งไม่เพิ่มวาระการประชุมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่สําคัญโดยไม่แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า
    • อํานวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองโดยการจัดส่งหนังสือมอบฉันทะแบบ ข. ซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถกําหนดทิศทางการลงคะแนนได้ พร้อมรายละเอียดวิธีการมอบฉันทะในการประชุมผู้ถือหุ้นไปพร้อมกับหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น ส่วนหนังสือมอบฉันทะทั้ง แบบ ก. แบบ ข.และแบบ ค. ผู้ถือหุ้นสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของบริษัท ซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถกําหนดทิศทางการลงคะแนนได้ พร้อมรายละเอียดวิธีการมอบฉันทะในการประชุมผู้ถือหุ้นไปพร้อมกับหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ บริษัทยังมีรายชื่อพร้อมประวัติของกรรมการอิสระ ให้ผู้ถือหุ้นสามารถเลือกเป็นผู้รับมอบฉันทะไว้ด้วย

    วันประชุมผู้ถือหุ้น

    • กําหนดให้มีระยะเวลาการลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนการประชุม 2 ชั่วโมง โดยได้นําระบบคอมพิวเตอร์และบาร์โค้ดมาใช้ในการลงทะเบียนและตรวจนับคะแนน เพื่อความถูกต้อง รวดเร็ว และเชื่อถือได้ของข้อมูล
    • กําหนดให้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมเป็นไปตามจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถืออยู่ โดยหนึ่งหุ้นมีสิทธิเท่ากับหนึ่งเสียง ทั้งนี้บริษัทมีหุ้นประเภทเดียวคือหุ้นสามัญ
    • ก่อนเริ่มการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทได้ชี้แจงวิธีการลงคะแนน และนับคะแนนให้ผู้ถือหุ้นในที่ประชุมรับทราบ
    • นําบัตรลงคะแนนมาใช้ในการลงมติในการประชุมผู้ถือหุ้น โดยจัดทําบัตรลงคะแนนแยกตามวาระ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถลงคะแนนได้ตามที่เห็นสมควร
    • ให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการลงคะแนน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการเป็นรายบุคคลในวาระการเลือกตั้งกรรมการ
    • มีการแสดงผลสรุปการนับคะแนนเสียงแต่ละวาระให้ผู้ถือหุ้นในที่ประชุมรับทราบทุกวาระตามลําดับ ดําเนินการประชุมผู้ถือหุ้นตามลําดับวาระที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้องและโปร่งใส ตามข้อกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท
    • ให้สิทธิผู้ถือหุ้นสามารถเข้าร่วมประชุมภายหลังจากเริ่มการประชุมไปแล้ว โดยมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ยังไม่ได้พิจารณาลงมติได้
    • เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นแสดงความคิดเห็นและซักถามอย่างเต็มที่ โดยมีประธานกรรมการบริษัท ประธานกรรมการ ตรวจสอบ ประธานกรรมการสรรหาและกําหนดค่าตอบแทน ประธานกรรมการบริหารกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร ระดับสูง และผู้สอบบัญชี เข้าร่วมประชุม เพื่อตอบข้อซักถามของผู้ถือหุ้น

    หลังการประชุมผู้ถือหุ้น

    • แจ้งมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันที่ 3 สิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันประชุม ผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมรับทราบในทันที
    • ให้ความสําคัญกับคุณภาพของรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น โดยบันทึกสาระสําคัญต่างๆ ประกอบด้วย
      • รายชื่อพร้อมตำแหน่งของกรรมการที่เข้าร่วมประชุม
      • สิทธิและวิธีการในการออกเสียงสลงคะแนน และการใช้บัตรลงคะแนน
      • คำถามและข้อเสนอแนะของผู้ถือหุ้น และคำชี้แจงของกรรมการหรือฝ่ายจัดการ
      • มติที่ประชุมและผลของคะแนนเสียงในทุกวาระที่มีการลงคะแนนเสียงอย่างชัดเจน

    บริษัทปฏิบัติตามเกณฑ์ภายใต้โครงการประเมินคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งจัดโดยสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สํานักงาน ก.ล.ต.) และสมาคมบริษัทจดทะเบียน โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินคุณภาพครอบคลุมขั้นตอนต่าง ๆ ในการจัดประชุมผู้ถือหุ้น ตั้งแต่ก่อนวันประชุมวันประชุม และภายหลังวันประชุม

  3. 3. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย

    คณะกรรมการบริษัทตระหนักและให้ความสำคัญถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า ผู้ถือหุ้น หรือผู้ลงทุน เจ้าหนี้ และชุมชนที่บริษัทตั้งอยู่ สังคม หรือภาครัฐ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ได้แก่ คู่แข่ง และผู้สอบบัญชีอิสระ

    3.1 ผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุน

    บริษัทให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้นโดยยึดหลักความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น และมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ระมัดระวัง และมุ่งเน้นการเจริญเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาวด้วยผลตอบแทนที่ดีเพื่อสร้างความพอใจสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นและจัดให้มีมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน เพื่อประโยชน์ส่วนตนของกรรมการหรือผู้บริหาร

    3.2 ลูกค้า

    บริษัทให้ความสำคัญและเอาใจใส่กับลูกค้าด้วยความรับผิดชอบสูงสุด โดยมุ่งมั่นที่จะให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจสูงสุดทั้งด้านคุณภาพและความคุ้มค่าราคา โดยการควบคุมดูแลสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ นอกจากนี้ ยังมุ่งพัฒนาสินค้ารวมถึงรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับลูกค้า

    3.3 พนักงาน

    พนักงานของบริษัทถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง และเป็นหัวใจสำคัญที่เกื้อกูลให้การดำเนินธุรกิจประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย บริษัทมีการจัดระบบค่าจ้าง ค่าตอบแทน สวัสดิการที่เป็นธรรมเหมาะสม รวมทั้งสวัสดิการต่างๆ เช่น เครื่องแบบพนักงาน การตรวจสุขภาพประจำปี ห้องพยาบาล ประกันสุขภาพ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทยังมุ่งพัฒนาเสริมสร้างความรู้ความสามารถของพนักงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และบริษัทยังได้คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของพนักงานและครอบครัว โดยมีการสนับสนุนด้านการศึกษาแก่พนักงานและบุตรพนักงาน โครงการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น และให้ความสำคัญในการดูแลความปลอดภัยพนักงานโดยจัดให้มีการซ้อมหนีไฟ จัดให้มีระบบป้องกันภัยกิจกรรมงานความปลอดภัยและ 5 ส

    3.4 เจ้าหนี้

    บริษัทปฏิบัติตามสัญญาและให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ตามลำดับชั้นของหนี้ตามสัญญาที่ได้กระทำไว้ โดยมีแนวปฏิบัติที่จะรักษาและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่มีต่อเจ้าหนี้อย่างเคร่งครัด และจ่ายชำระคืนเงินแก่เจ้าหนี้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา

    3.5 คู่ค้า

    บริษัทมีการปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเหมาะสม สุจริตโปร่งใส เป็นธรรม และเสมอภาค ปฏิบัติต่อคู่ค้าทุกรายของบริษัทอย่างเป็นธรรม เท่าเทียมกัน

    3.6 คู่แข่ง

    บริษัทดำเนินธุรกิจตามกรอบกติกาที่เป็นธรรม โดยไม่มีการกระทำในทางทุจริตอันเป็นผลร้ายต่อกัน และไม่แสวงหาความลับทางการค้าอันมิชอบด้วยกฎหมายหรือการละเมิดข้อตกลงที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลของคู่แข่งไม่ว่าจะได้จากลูกค้าหรือบุคคลอื่น

    3.7 ภาครัฐ

    บริษัทให้ความร่วมมือและสนับสนุนนโยบายภาครัฐเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติภายใต้กฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมุ่งมั่นดำเนินโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นโครงการจากภาครัฐหรือโครงการที่บริษัทริเริ่มขึ้นเอง รวมทั้งให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการร่วมต่อต้านการทุจริต

    3.8 สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

    บริษัทตระหนักเสมอมาว่า บริษัทดำเนินธุรกิจอยู่ได้อย่างราบรื่นและมั่นคงก็ด้วยการยอมรับสนับสนุนจากสังคมและชุมชนจึงถือเป็นภารกิจสำคัญยิ่งของบริษัทในการดำเนินธุรกิจด้วยสำนึกของความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมเสมอ บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนดูแลป้องกันมิให้การดำเนินงานของบริษัทก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณภาพชีวิตของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม

    นโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

    บริษัทให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ จึงกำหนดเป็นนโยบายและแนวปฏิบัติไว้โดยกำหนดให้มีการวางแผน จัดให้มีระบบรักษาความปลอดภัยและระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพใน 84 รายงานประจำปี 2563 ปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมภายในสำนักงานและสถานประกอบการ เพื่อป้องกันและควบคุมความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความสูญเสียอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงาน ทรัพย์สินสูญหายหรือเสียหาย การปฏิบัติงานไม่ถูกวิธี และความผิดพลาดอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น

  4. 4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

    บริษัทมีนโยบายเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงินอย่างถูกต้องครบถ้วน โปร่งใส และทันเวลา ผ่านช่องทางที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย มีความเท่าเทียมกันและน่าเชื่อถือ เพื่อให้ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายทั้งในและต่างประเทศมีข้อมูลที่เชื่อถือได้และเพียงพอต่อการตัดสินใจอย่างสมำ่าเสมอ

    4.1 การควบคุมภายในและการทำรายการ / ธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์

    บริษัทมีนโยบายในการป้องกันและขจัดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น โดยกำหนดให้การทำรายการและ/หรือธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    บริษัทจะดำเนินการให้กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทแล้วแต่กรณีไม่ประกอบธุรกิจที่คล้ายคลึงหรือแข่งขันหรือมีรายการระหว่างกันในลักษณะที่มีผลประโยชน์อื่นที่อาจขัดแย้งกับผลประโยชน์ที่ดีที่สุดกับบริษัทหรือบริษัทย่อย โดยผู้บริหาร และ/หรือ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทแล้วแต่กรณีจะต้องรายงานต่อบริษัทหากผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นเข้าไปถือหุ้นบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานคล้ายคลึงกับบริษัทหรือบริษัทย่อย เพื่อให้บริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาว่าการถือหุ้นดังกล่าวขัดต่อผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของบริษัทหรือบริษัทย่อยหรือไม่

    บริษัทยังให้ความสำคัญกับระบบการควบคุมภายในที่ดีและได้จัดให้มีฝ่ายตรวจสอบภายในเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานของแต่ละสายงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดและปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความโปร่งใส โดยมีการตรวจสอบเป็นระยะและจัดทำรายงานส่งให้คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณา

    4.2 การเปิดเผยข้อมูล

    บริษัทเปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์ที่กำหนดผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และผ่านเว็บไซต์ www.kbs.co.th ภายใต้หัวข้อ นักลงทุนสัมพันธ์ ข้อมูลที่เปิดเผยบนเว็บไซต์ ได้แก่ แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) รายงานประจำปี (แบบ 56-2) งบการเงิน คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (Management Discussion & Analysis) ผลการดำเนินงานย้อนหลัง ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบริษัท หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น การกำกับดูแลกิจการ ข่าวสารแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นต้น โดยบริษัทจัดให้มีผู้รับผิดชอบคือนักลงทุนสัมพันธ์ เพื่อเป็นศูนย์กลางและตัวแทนในการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบริษัททั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บุคคลทั่วไป และผู้มีส่วนได้เสียทั้งในและต่างประเทศ โดยสามารถติดต่อได้ที่หน่วยงาน

    สำนักกรรมการผู้จัดการ บริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด(มหาชน)
    หมายเลขโทรศัพท์ (02) 725-4888 หมายเลขโทรสาร (02) 725-4896
    Email: ir@kbs.co.th

    4.3 รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทต่อรายงานทางการเงิน

    บริษัทจัดให้มีรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงินแสดงควบคู่ไปกับรายงานของผู้ สอบบัญชีในรายงานประจำปี ซึ่งมีเนื้อหารับรองการปฏิบัติตามหลักการบัญชี และมีการรายงานทางการเงินที่มีข้อมูลถูกต้อง ครบ ถ้วน เป็นจริงตามมาตรฐานการบัญชี โดยรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร

  5. 5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท

    บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการพิจารณาสรรหากรรมการที่มีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ มีประสบการณ์ความรู้ความสามารถและมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม และความสำคัญในการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายจัดการที่ชัดเจน และดูแลให้บริษัทมีระบบงานที่ให้ความเชื่อมั่นได้ว่ากิจกรรมต่างๆของบริษัทได้ดำเนินไปในลักษณะที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีจริยธรรม

    บริษัทได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทโดยคำนึงปัจจัยต่างๆ ซึ่งรวมถึงความรับผิดชอบของกรรมการ โดยมีแนวนโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

    5.1 โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท

    คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์อันเป็นประโชน์ต่อบริษัท รวมทั้งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีกรรมการอิสระ 5 คน ซึ่งเป็นผู้หญิง 1 คน จากกรรมการทั้งหมด 9 คน คิดเป็นสัดส่วนกรรมการอิสระจำนวน 1 ใน 3 ของคณะกรรมการทั้งหมดตามหลักเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. โดยกรรมการอิสระทุกคนมีคุณสมบัติความเป็นอิสระครบถ้วนตามที่บริษัทกำหนด สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างอิสระ มีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อบริษัท

    ประธานกรรมการเป็นกรรมการอิสระ และไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับฝ่ายบริหารและไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับกรรมการผู้จัดการเพื่อเป็นการแบ่งแยกหน้าที่ในการกำหนดนโยบายกำกับดูแลและการบริหารงานประจำ

    บริษัทตระหนักถึงประโยชน์ของความหลากหลายของคณะกรรมการบริษัท จึงกำหนดนโยบายเกี่ยวกับความหลากหลายในโครงสร้างของคณะกรรมการอันประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ความรู้ความสามารถ ทักษะวิชาชีพ ประสบการณ์ทำงาน ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือคุณสมบัติเฉพาะด้านอื่นๆ โดยมีความเชื่อมั่นว่าความหลากหลายในโครงสร้างของคณะกรรมการบริษัท เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างสมดุลด้านความคิด ด้านคุณภาพการทำงาน รวมถึงประสิทธิภาพด้านการตัดสินใจของคณะกรรมการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท

    นอกจากนี้ เพื่อให้การกำกับดูแลองค์กรเป็นไปอย่างทั่วถึงในทุกมิติและสอดคล้องตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการสรรหาและพิจารณากำหนดค่าตอบแทน เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท ช่วยพิจารณากลั่นกรองการดำเนินงานที่สำคัญเฉพาะเรื่องตามที่ได้รับมอบหมาย และเสนอความเห็นแก่คณะกรรมการบริษัท ตลอดจนมีอำนาจพิจารณาตัดสินใจเรื่องสำคัญในบางเรื่องตามที่คณะกรรมการบริษัทได้ให้อำนาจไว้ (แสดงรายละเอียดในหัวข้อ โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ)

    5.2 บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท

    บริษัทได้เปิดเผยขอบเขตและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ โดยแสดงรายละเอียดในหัวข้อ โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

    5.3 วาระการดำรงตำแหน่งกรรมการ

    วาระการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทเป็นไปตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดและข้อบังคับของบริษัทกล่าวคือ ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่งอย่างน้อยจำนวน 1 ใน 3 ถ้าจำนวนกรรมการที่จะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับส่วน 1 ใน 3 กรรมการที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ออกจากตำแหน่ง กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ได้ อย่างไรก็ดี ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งกรรมการที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 3 วาระติดต่อกัน เว้นแต่กรรมการคนใดมีความเหมาะสมที่จะดาำ รงตำแหน่งนานกว่านั้น คณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาคุณสมบัติและประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการรายดังกล่าว และชี้แจงเหตุผลพร้อมผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ถือหุ้น

    สำหรับกรรมการอิสระ บริษัทไม่ได้กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งต่อเนื่องของกรรมการอิสระ เนื่องจากกรรมการอิสระของบริษัทมีคุณสมบัติตามนิยามกรรมการอิสระที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนและบริษัทกำหนด และสามารถให้ความเห็นอย่างอิสระในการประชุมคณะกรรมการ ทั้งนี้ หากมีกรรมการอิสระที่ดำรงตำแหน่งกรรมการเกิน 9 ปี และคณะกรรมการบริษัทพิจารณาเห็นชอบให้กรรมการอิสระท่านนั้นดำรงตำแหน่งต่อ คณะกรรมการบริษัทจะนำเสนอถึงเหตุผลในการขอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติเลือกกรรมการรายดังกล่าวเป็นกรรมการอิสระต่อไป

    5.4 การดำรงตำแหน่งกรรมการในกิจการอื่น

    บริษัทกำหนดให้กรรมการสามารถดำรงตำแหน่งกรรมการในกิจการอื่นได้ แต่ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการ ปฏิบัติหน้าที่กรรมการของบริษัท ทั้งนี้ กรรมการต้องไม่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัทหรือเข้าเป็นหุ้นส่วน หรือกรรมการในนิติบุคคลอื่นที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท ไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ของตนหรือประโยชน์ของบุคคลอื่น เว้นแต่จะแจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อนมีมติแต่งตั้ง

    นอกจากนี้ บริษัทได้กำหนดให้กรรมการควรดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ไม่เกิน 5 บริษัท ซึ่งไม่มีกรรมการบริษัทรายใดดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่นเกิน 5 บริษัท

    กรรมการผู้จัดการอาจไปดำรงตำแหน่งกรรมการที่บริษัทอื่นได้ แต่ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการของบริษัท และกิจการนั้นต้องไม่เป็นธุรกิจประเภทเดียวกัน หรือเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัท

    5.5 การประชุมคณะกรรมการบริษัท

    1. บริษัทได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทอย่างสมำ่าเสมอ โดยกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง เพื่อพิจารณางบการเงิน ติดตามผลการดำเนินงาน รวมทั้งชี้แนะและกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจ นโยบาย และเป้าหมายของบริษัท
    2. คณะกรรมการบริษัท ได้กำหนดวันประชุมล่วงหน้าในแต่ละปี โดยได้แจ้งให้กรรมการแต่ละท่านทราบ เพื่อที่จะได้มีเวลาในการจัดสรรนัดหมายอื่นให้สามารถเข้าประชุมคณะกรรมการบริษัทได้ครบทุกครั้ง โดยกรรมการควรเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยร้อยละ 75 ของการประชุมทั้งปี ในปี 2563 บริษัทมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทรวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง โดยสัดส่วนการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการบริษัททั้งคณะคิดเป็นร้อยละ 100
    3. ในปี 2563 ได้มีการกำหนดวันประชุมคณะกรรมการบริษัท ประจำปี 2564 ไว้ล่วงหน้า (กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้) โดยไม่รวมการประชุมในวาระพิเศษ ดังนี้
      ครั้งที่ คณะกรรมการบริษัท / คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน
      1 วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564
      2 วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม 2564  
      3 วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 2564  
      4 วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2564
    4. ประธานกรรมการบริษัทเป็นผู้เรียกประชุมคณะกรรมการ และพิจารณากำหนดวาระในการประชุม โดยอาจปรึกษาหารือกับกรรมการผู้จัดการ เลขานุการบริษัท หรือที่ปรึกษาของบริษัท โดยกรรมการแต่ละคนมีสิทธิที่จะเสนอเรื่องเข้าสู่วาระการประชุมคณะกรรมการบริษัทได้
    5. เลขานุการบริษัทได้จัดส่งเอกสารประกอบการประชุมให้แก่กรรมการล่วงหน้า โดยสรุปย่อตามข้อมูลที่จำเป็นต่อการพิจารณา ประธานกรรมการได้จัดสรรเวลาไว้อย่างเพียงพอในการประชุมแต่ละครั้ง บางประเด็นที่มีข้อมูลไม่เพียงพอกรรมการบริษัทสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมผ่านเลขานุการของบริษัทได้ตลอดเวลา
    6. ในการประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม โดยประธานกรรมการจะเป็นประธานของการประชุมคณะกรรมการ ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ามีรองประธานกรรมการ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธาน ถ้าไม่มีรองประธานกรรมการ หรือมีแต่ไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
    7. การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก โดยกรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน เว้นแต่กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใด ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
    8. คณะกรรมการบริษัทอาจเชิญผู้บริหาร พนักงาน ที่ปรึกษาของบริษัทเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อให้สารสนเทศเพิ่มเติมในเรื่องที่ประชุม
    9. คณะกรรมการบริษัทสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่จำเป็นเพิ่มเติมได้จากกรรมการผู้จัดการ หรือเลขานุการบริษัทหรือผู้บริหารอื่นที่ได้รับมอบหมาย
    10. คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายให้กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารมีโอกาสที่จะประชุมระหว่างกันเองตามความจำเป็น เพื่ออภิปรายปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการที่อยู่ในความสนใจ โดยไม่มีฝ่ายจัดการร่วมด้วยและควรแจ้งให้กรรมการผู้จัดการทราบถึงผลการประชุมด้วย

    การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยของกรรมการแต่ละท่านในปี 2563 สรุปได้ดังนี้

    ครั้งที่ รายชื่อกรรมการ คณะกรรมการ บริษัท คณะกรรมการ ตรวจสอบ คณะกรรมการ บริหารความ เสี่ยง คณะกรรมการสรรหาและ กำหนดค่าตอบแทน คณะกรรมการ บริหาร
    1 นายสุเทพ วงศ์วรเศรษฐ 7/7 - - - -
    2 นายถกล ถวิลเติมทรัพย์ 7/7 - 1/1 - 12/12
    3 นายสมเกียรติ ถวิลเติมทรัพย์ 7/7 - 1/1 1/1 6/12
    4 นายอิสสระ ถวิลเติมทรัพย์ 7/7 - - 1/1 10/12
    5 นายศรัณย์ สมุทรโคจร 7/7 - 1/1 1/1 -
    6 นางสุวิมล กฤตยาเกียรณ์ 7/7 4/4 - - -
    7 นายวรวิทย์ โรจน์รพีธาดา 7/7 4/4 - 1/1 -
    8 นายศักดา พันธ์กล้า 7/7 4/4 - - -
    9 นายอำนาจ รำเพยพงศ์ 7/7 - - - -

    5.6 การประเมินตนเองของคณะกรรมการบริษัท

    กรรมการบริษัทมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท ปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทร่วมกันพิจารณาผลงานและปัญหา เพื่อการปรับปรุงแก้ไขต่อไป โดยอ้างอิงแบบฟอร์มจากตัวอย่างแบบประเมินตนเอง

    คณะกรรมการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เลขานุการบริษัทจะส่งแบบประเมินให้กนรรมการทุกท่านประเมินตนเองในทุกสิ้นปี และเป็นผู้รวบรวมและรายงานสรุปผลการประเมินให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบ พร้อมทั้งร่วมวิเคราะห์ผลการประเมินเพื่อพิจารณาหาแนวทาง แนวปฏิบัติ สำหรับการพัฒนาศักยภาพการทำงานของคณะกรรมการให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 88 รายงานประจำปี 2563 ซึ่งเกณฑ์การประเมินผลคิดเป็นร้อยละจากคะแนนเต็ม ดังนี้ มากกว่าร้อยละ 80 = ดีเยี่ยม, มากกว่าร้อยละ 60 = ดี, มากกว่าร้อยละ 40 = พอใช้, มากกว่าร้อยละ 20 = น้อย และ น้อยกว่าร้อยละ 20 = ยังไม่มีการดำเนินการเรื่องนั้นๆ โดยในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 มีการประเมินตนเองของคณะกรรมการเพื่อใช้ประเมินการทำงานของคณะกรรมการในภาพรวมขององค์คณะ มีหัวข้อที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ การประชุมคณะกรรมการ การทำหน้าที่ของกรรมการ ความสัมพันธ์กับฝ่ายจัดการและการพัฒนาตนเองของกรรมการและการพัฒนาผู้บริหาร ซึ่งผลการประเมินประจำปี 2563 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 95.20 และประเมินตนเองของคณะกรรมการรายบุคคล มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 94.32 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ ดีเยี่ยม

    5.7 การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูง

    คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูงของบริษัทโดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานทางธุรกิจของบริษัท การดำเนินงานตามนโยบายที่ได้รับจากคณะกรรมการบริษัท ประกอบกับสภาวการณ์เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม โดยคณะกรรมการจะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพิจารณาค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงต่อไป

    5.8 การปฐมนิเทศกรรมการใหม่

    บริษัทจัดให้มีการปฐมนิเทศกรรมการใหม่ ซึ่งประกอบด้วยการบรรยายและการเข้าเยี่ยมชมกิจการ เพื่อให้กรรมการใหม่ได้รับทราบลักษณะและแนวทางการดำเนินธุรกิจ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และข้อมูลอื่นที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงจัดให้มีคู่มือกรรมการและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีเลขานุการบริษัทเป็นผู้ประสานงาน

    5.9 การพัฒนาและการส่งเสริมความรู้ให้กับกรรมการและผู้บริหาร

    บริษัทสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาความรู้ให้กับกรรมการ กรรมการชุดย่อย และผู้บริหารทุกคนอย่างต่อเนื่อง โดยเลขานุการบริษัทได้ประชาสัมพันธ์และประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับกรรมการทุกท่านในการเข้าร่วมการอบรมและสัมมนาหลักสูตรต่างๆ

    5.10 การกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม

    บริษัทกำหนดระบบการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพในการกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม โดยผ่านกฎระเบียบ นโยบาย และข้อบังคับต่างๆ เช่น อำนาจดำเนินการแนวปฏิบัติ และกระบวนการทำงานที่ชัดเจน ตลอดจนมีระบบการรายงานเป็นลำดับขั้นต่อผู้บริหารที่เกี่ยวข้องโดยมีการรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทเป็นระยะ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมสอดคล้องกับการดำเนินงานของบริษัท และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งซึ่งจะช่วยผลักดันให้บริษัทบรรลุเป้าหมายระยะยาวที่วางไว้ และเติบโตอย่างยั่งยืน

    นอกจากนี้ บริษัทได้จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่สำคัญของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ได้แก่ ข้อมูลฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน การทำรายการระหว่างบริษัทย่อย/บริษัท ร่วมกับบุคคลที่เกี่ยวโยง การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ และการทำรายการสำคัญ โดยรายการดังกล่าวจะต้องมีการเปิดเผยอย่างถูกต้องครบถ้วน และไม่ขัดกับหลักเกณฑ์และวิธีการตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย